วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทคนิคในการสอบสัมภาษณ์เข้าเรียนมหาวิทยาลัย

คิดว่าคงมีหลายคนแล้วที่ทราบผลการคัดเลือกในการสอบตรงบางมหาวิทยาลัยแล้ว และที่สำคัญจะต้องไปสอบสัมภาษณ์ เพื่อทราบผลครั้งสุดท้าย ดังนั้นสิ่งที่นักเรียนควรจะศึกษาเป็นอย่างยิ่งก็คือการเตรียมตัวเพื่อการสอบสัมภาษณ์และเทคนิคการสอบสัมภาษณ์ เราเดินทางมาใกล้ถึงฝั่งแล้ว จะยอมแพ้ได้ง่ายๆ หรือ จริงไหมคะทีนี้มาลองศึกษาเทคนิคการสอบสัมภาษณ์ ด้วยกันนะคะเทคนิคการสอบสัมภาษณ์มีดังนี้ค่ะ1.การเตรียมตัวก่อนวันไปสัมภาษณ์- เตรียมเอกสารส่วนตัวให้เรียบร้อย จัดลงในแฟ้มสะสมผลงาน หรือ PORTFOLIO ให้เป็นระบบ ตัวอย่างเอกสาร เช่น ประวัติส่วนตัว ประวัติการเรียน ผลการเรียน การร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การประกวดแข่งขัน ผลงานและรางวัลต่าง ๆ รูปภาพ ฯลฯ- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย คณะ และสาขาวิชาที่สมัครเข้าศึกษา รวมทั้งติดตามข่าวสารความรู้ทั่วไปในปัจจุบัน- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ไปสัมภาษณ์ การเดินทาง ระยะทาง ตึก-ห้องที่จะสัมภาษณ์ ควรจะเผื่อรถติดด้วย- พักผ่อนให้เพียงพอ ควรงดการรับประทานอาหารรสจัด- อย่าลืมเตรียมปากกาไปด้วย2. วันสอบสัมภาษณ์- แต่งกายเครื่องแบบนักเรียนที่สะอาด เรียบร้อย นักเรียนชายผมสั้น นักเรียนหญิงถ้าผมยาวให้รวบผมติดกิ๊บให้เรียบร้อย ไม่แต่งหน้า ไม่ใส่น้ำหอม และไม่ใส่เครื่องประดับใดๆ นอกจากนาฬิกา- รับประทานอาหารเช้า ทำภารกิจส่วนตัวให้เรียบร้อย- ไปถึงห้องสอบก่อนเวลาไม่น้อยกว่า 15 นาที เข้าห้องน้ำ นั่งรอหน้าห้องด้วยความสบายใจ ไม่คุยเสียงดัง ไม่เล่น ให้นั่งรอเรียกชื่อด้วยความสงบ ถ้าตื่นเต้นให้หายใจยาวๆ - ปิดโทรศัพท์มือถือ3. การเข้ารับการสัมภาษณ์- เมื่อถูกเรียกชื่อให้เดินไปด้วยอาการสงบ ไม่ต้องตื่นเต้นมาก คิดว่า “เราทำได้”- ถ้ามีประตูให้เคาะประตูก่อน ถ้าไม่มี ให้เดินไปที่หน้าโต๊ะกรรมการสัมภาษณ์ และไหว้ด้วยท่าทีที่อ่อนน้อม กรณีที่มีผู้สัมภาษณ์หลายคนให้ทำความเคารพครั้งเดียว โดยยืนตำแหน่งตรงกลางหน้าโต๊ะกรรมการ- นั่งลงเมื่อกรรมการบอกให้นั่ง พร้อมทั้งกล่าวคำขอบคุณ ให้นั่งด้วยท่าทีที่สุภาพ ไม่นั่งไขว่ห้าง กระดิกขา หรือโยกตัว ให้ประสานมือไว้ข้างหน้า สบตาผู้สัมภาษณ์ (ไม่จ้องตานะคะ) - ตอบคำถามด้วยความมั่นใจ มีน้ำเสียงที่ดังพอสมควรไม่ค่อยเกินไป - ภาษาที่ใช้ควรจะเป็นภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่พูดภาษาไทยคำอังกฤษคำ ไม่ใช้ศัพท์เฉพาะของวัยรุ่น ควรจะลงท้าย “ค่ะ ครับ” ทุกครั้งที่ตอบคำถาม- การแสดงความคิดเห็นควรจะเน้นความมีเหตุผล ไม่มีอคติหรือตอบในแง่ลบ- ไม่ถ่อมตนจนเกินไป ไม่คุยโอ้อวดหรือแสดงความมั่นใจจนเกินไป นอกจากเป็นคำถามที่ตนเองมีความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น มีทักษะด้านหุ่นยนต์ หรือ ดนตรีไทย ก็สามารถอธิบายได้ด้วยความมั่นใจ- คำถามบางคำถามอาจจะตอบไม่ได้ ไม่ต้องตกใจ ให้บอกว่าไม่ทราบ แล้วจะไปหาข้อมูลเพิ่มเติม (แต่ไม่ใช่ไม่ทราบทุกคำถามนะคะ)4. การยุติการสัมภาษณ์- เมื่อสิ้นสุดการสัมภาษณ์ให้ทำความเคารพกรรมการผู้สัมภาษณ์ด้วยท่าทีที่อ้อนน้อม เป็นอันเสร็จสิ้นการสัมภาษณ์ค่ะ คราวนี้ก็รอลุ้นการประกาศรายชื่อนะคะ5. คำถามหรือคำพูดที่มักจะพบในการสอบสัมภาษณ์- ไหนลองแนะนำตัวหน่อยสิครับ - ทำไมถึงเลือกเรียน สาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัยนี้- ทราบไหมว่าสาขาวิชานี้เรียนเกี่ยวกับอะไร- คิดว่าสาขาวิชาที่เลือกเมื่อจบแล้วจะประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง- คิดว่าตนเองเหมาะสมกับสาขาวิชานี้อย่างไร- บางท่านอาจจะถามข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดที่เราอยู่ เช่น ชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด คำขวัญของจังหวัด จุดเด่นของจังหวัด ฯลฯ- ชอบ/ไม่ชอบวิชาอะไร- อนาคตอยากจะประกอบอาชีพอะไร- ให้พูดถึงข้อดี/ข้อเสียของตนเอง- ถ้าเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษา หรือแผนการเรียนที่นักเรียนเรียนจบมา อาจจะมีการสัมภาษณ์เป็นภาษานั้น หรือ ให้พูดภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส หรือ เยอรมัน ให้ฟัง เป็นต้น- บางครั้งอาจจะมีคำถามยั่วยุ หรือสบประมาท ให้ตอบคำถามด้วยความใจเย็น และมีเหตุผล และที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าสถานะการณ์การสัมภาษณ์จะกดดันความรู้สึกอย่างไรก็ขอให้นักเรียนยิ้มไว้เป็นดีที่สุดค่ะหวังว่าคงสร้างความมั่นใจในการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัยนะคะ

วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

10วิธีพูดเพื่อให้กำลังใจผู้อื่น^^

ท่านอาจารย์แคตลีน แบรนนอน (Kathleen Brannon) ตีพิมพ์เรื่อง '10 Things to say (and 10 not to say) to someone with depression'
แปลว่า "10 เรื่องที่ควรพูด (และ 10 ที่ไม่ควรพูด) กับคนที่ซึมเศร้า (เศร้าสร้อย-หงอย-เซง)" ในนิตยสาร 'Health (= สุขภาพ)' ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
[ DepressionAlliance ] & [ Health ]
...
10 น้ำคำที่ทำ ความแช่มชื่นใจ เป็นถ้อยคำที่บ่งบอกถึงเมตตากรุณาต่อคนที่กำลังเศร้าสร้อย-หงอย-เซง ซึ่งขอคัดต้นฉบับภาษาอังกฤษมาด้วย เพื่อจะเรียนภาษาอังกฤษไปพร้อมๆ กันได้แก่
...
(1). You're not alone in this.
= คุณไม่ได้อยู่เพียงลำพัง (alone = โดดเดี่ยว เดียวดาย อยู่ตามลำพัง) เช่น เราเป็นเพื่อนกัน เป็นพี่น้องกัน เป็นญาติกัน ฯลฯ อะไรทำนองนี้
...
(2). You are important to me. = คุณเป็นคนสำคัญของผม (ดิฉัน; important = ซึ่งมีความสำคัญ)
กล่าวกันว่า คนเรานั้นที่จะไม่มีคนรักเลย และไม่เป็นที่รัก (ของคนอื่น) เลยนั้นไม่มี, คนที่รักเราแน่ คือ คุณแม่คุณพ่อ หรือถ้าเกิดมากำพร้าจริงๆ ก็ควรหัดรักตัวเอง เมตตากรุณาตัวเองให้ได้
...
เพราะอย่างน้อย ตัวเราควรเป็น "คนพิเศษ" ของตัวเราเองให้ได้ หรือไม่ก็ทำตัวเราให้มีค่าขึ้นมา เช่น มีเลือดที่บริจาคได้ก็บริจาคเป็นประจำ บริจาคอวัยวะ ฯลฯ
...
(3). Do you want a hug? = คุณต้องการให้กอดไหม? (hug = กอด)
บล็อกของเราไม่สนับสนุนให้ไปเที่ยวกอดใคร หรือให้ใครกอด ทว่า... ถ้าเราไปในที่อันสมควรแล้วน่าจะทำได้
...
ท่านอาจารย์สุเทพ โพธิสัทธา แนะำให้แจกกอดได้ในที่อันควร เช่น รวมกลุ่มกันไปทำบุญ เลี้ยงเด็กกำพร้าแล้วแจกกอดเด็กๆ ฯลฯ
วิธีหนึ่งที่น่าจะดี คือ พาน้องหมาน้องแมวไปด้วย (ขอพันธุ์ที่ใจดีหน่อย เช่น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ฯลฯ ไม่ใช่พันธุ์ดุประเภทให้กอดแล้วกัดเลย) แล้วให้คนที่กำลังเศร้ากอด ซึ่งโรงพยาบาล-สปาสุขภาพน่าจะมีบริการนี้
...
(4). You are not going mad. = คุณไม่ได้บ้า (mad = ซึ่งเป็นบ้า)
คน เราไม่ได้เกิดมาเหมือนกันทุกอย่าง เราเป็นเช่นที่เราเป็น ขอเป็นแบบนี้ คือ 'Be good, Be you' = "ขอให้เป็นคนดี และเป็นเช่นที่คุณเป็น"
...
(5). We are not on this earth to see through one another, but to see one another through.
= เราไม่ได้อยู่บนโลกนี้เพื่อที่จะรู้เท่าทันคนอื่นไปเสียหมดทุกอย่าง แต่อยู่เพื่อที่จะเข้าใจ หรือรู้จักคนบางคนได้ดีขึ้น (ก็เท่านั้นเอง...) ; see through = รู้เท่ารู้ทันคนอื่น เช่น คนเจ้าเล่ห์ คนลวงโลก ฯลฯ, เข้าใจ, ช่วยเหลือ
[ thefreedictionary ] ; [ longdo ]
...
ข้อนี้คล้ายๆ กับว่า ชีวิตจริง... คนเราก็คงจะเคยเสียท่า หรือถูกหลอกกันแล้วทั้งนั้น มากบ้างน้อยมาก
ไม่ควรหมกมุ่นกับเรื่องนี้มากเกินไป ขอให้ถือว่า เป็นบทเรียน... ที่จะทำให้เราเข้าใจโลก หรือเข้าใจคนบางคนมากขึ้น ต่อไปจะได้ไม่เสียท่าอีก
...
(6). When all this is over, I'll still be here and so will you.
= เมื่อเรื่องร้ายๆ นี้ผ่านไป, เรายังคบกันได้นะ (หรือไม่ทิ้งกันอะไรทำนองนี้; over = มากเกินไป ผ่านพ้นไป)
...
(7). I can't really understand what you are feeling, but I can offer my compassion.
= ผม (ดิฉัน) คงไม่อาจจะเข้าใจความรู้สึกของคุณได้อย่างแท้จริง, แต่ก็เห็นใจคุณนะ (understand = เข้าใจ; feel = รู้สึก; feeling = ความรู้สึก; offer = ให้; compassion = ความเห็นใจ)
...
(8). I'm not going to leave you or abandon you.
= ผม (ดิฉัน) จะไม่ไปจาก (leave = ไปจาก) หรือทอดทิ้ง (abandon = ทอดทิ้ง; ขอให้สังเกตว่า คำนี้ออกเสียงคล้ายๆ กับคำว่า 'ban' หรือ "แบน" และมีความหมายคล้ายกันด้วย; ban = ห้าม คำสั่งห้าม)
...
(9). I love you. (Say this only if you mean it.) = ผม (ดิฉัน) รักคุณ (พูดแบบนี้ได้เฉพาะเมื่อมีใจให้กันจริงๆ หรือความหมา่ยเช่นนั้น; mean = มีความหมายว่า) ไม่ใช่พูดไปเรื่อย
เพราะคำนี้จะมีค่า มีความหมาย... เฉพาะเมื่อพูดออกมาจากใจ มิใช่ลวงโลก
...
(10). I'm sorry that you're in so much pain. I am not going to leave you. I am going to take care of myself, so you don't need to worry that your pain might hurt me.
= ผม (ดิฉัน) รู้สึกเสียใจที่คุณชอกช้ำ (หรือเจ็บปวดมาก), ไม่ได้คิดจะไปจากคุณ. ผม (ดิฉัน) ดูแลตัวเองได้ และไม่คิดว่า ความเจ็บปวดของคุณจะทำร้ายผม (ดิฉัน)
...
เรื่องของเรื่อง คือ ความกรุณา (ปรารถนาให้คนอื่นพ้นทุกข์ บรรเทาทุกข์) กับความโทมนัส (ซึม-เศร้าสร้อย-หงอย-เซง-หงุดหงิด-ไม่แช่มชื่น) เป็นศัตรูใกล้กัน
ตัวอย่างเช่น การไปเยี่ยมไข้คนอื่นอาจทำให้เราพลอยไม่สบายใจไปด้วย (โทมนัส) ทั้งๆ ที่ก่อนไปก็ปรารถนาจะไปเยี่ยมไข้ด้วยกรุณา
...
คนที่กำลังบาด เจ็บทางใจหรือไม่สบายหลายๆ คนจะหลบหนีไปอยู่ีเพียงลำพัง... คนบางคนอาจจะรู้สึกไม่ดีที่ความไม่สบายของเขาทำให้คนอื่นพลอยลำบากไปด้วย เช่น สามี ภรรยา ญาติสนิทมิตรสหาย ฯลฯ
วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ทุกคนทุกฝ่าย "เดือดร้อนน้อยที่สุด" คือ แสดงความเข้มแข็งออกมา พยายามดูแลสุขภาพทั้งกายและใจให้ดีอยู่เสมอ ไม่ว่าเราจะป่วยหรือไม่ จะหนักหรือจะเบา และแสดงความเข้มแข็งให้ได้ ไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายที่ชอกช้ำอยู่ หรือเป็นฝ่ายที่ช่วยคนช้ำ
...
คำ "คนไข้" ในภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า 'patient' ซึ่งแปลว่า "อดทน" ด้วย เนื่องจากคุณธรรมสำคัญของคนไข้ คือ ต้องมีความอดทน
ไม่ ใช่มีความทุกข์ยากแล้วบ่น พร่ำ รำพันไปเรื่อย, ทำให้เชื้อโรคแห่งความท้อแท้แพร่กระจาย, ทว่า... คนไข้ที่ดีควร "อดทน (patient)" ให้ได้ และแสดงความเข้มแข็งออกมาให้ได้ แม้ในท่ามกลางวิกฤติ
...
คนไข้ที่บ่นไป เรื่อยดูได้จากญาติสนิทมิตรสหายจะหลีก-ลี้-หนี-หายไปเรื่อยๆ... ใครเข้าใกล้ก็จะติดเชื้อแห่งความท้อแท้ ทำให้ถูกทอดทิ้งได้ง่าย
ตรง กันข้าม, คนไข้ที่ "เข็มแข็งอดทน-บ่นเท่าที่จำเป็น-ใจสู้" จะเป็นแบบอย่างของการสู้ชีวิตที่สำคัญ ทำให้เชื้อแห่งความเข้มแข็งแพร่ออกไป ดังคำกล่าวที่ว่า "มีสุขได้ในท่ามกลางทุกข์ และมีสุขภาพดี (ตามฐานะ) ได้ในท่ามกลางวิกฤติ"
...
สรุป คือ คำที่ควรพูดกับ "คนช้ำ" คือ การให้กำลังใจ และไม่ทอดทิ้งกัน
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ