วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

ประวัติสงครามบ้านร่มเกล้า


ประวัติ สงครามบ้านร่มเกล้าสงครามบ้านร่มเกล้าเกิดจากกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก อันเนื่องมาจากปัญหาเส้นเขตแดนที่อ้างสนธิสัญญาคนละฉบับทั้งนี้โดยมีพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส พ.ศ. 2451 กำหนดให้ลำน้ำเหืองเป็นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส แต่ปีถัดมาพนักงานสำรวจทำแผนที่พบว่ามีน้ำเหือง 2 สาย ฝรั่งเศสตัดสินเอาเองโดยไม่ได้แจ้งให้กรุงเทพฯทราบ เลือกสายน้ำที่ทำให้ตนได้ดินแดนมากขึ้นหน่อย ลาวรับช่วงถือเขตแดนนี้แต่ลำน้ำเหือง 2 สายนั้นไม่ตรงกับแนวลำน้ำในปัจจุบันที่ปรากฏในแผนที่สหรัฐทำให้รัฐบาลไทยช่วงสงครามเวียดนาม ลำน้ำในปัจจุบันเรียกว่าเหืองป่าหมัน ไม่ใช่ชื่อที่เคยปรากฏในเอกสารใด ๆ เมื่อพ.ศ. 2450 - 2451เขตแดนตรงนั้นไม่มีปัญหาอะไร จนกระทั่งปี 2530 ลาวอ้างว่าบริเวณบ้านร่มเกล้าเป็นของลาว เนื่องจากแผนที่คนละฉบับกับไทย ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดในการสำรวจเมื่อปี 2450ช่วงปี 2510 - 2520 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เคลื่อนไหวรุนแรงที่จะยึดอำนาจรัฐ พื้นที่ติดต่อเขตลาวในเขตนี้ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเผ่าม้ง ถูกใช้เป็นพื้นที่หลบซ่อนและปฏิบัติการ เพราะสามารถข้ามลำน้ำเหืองเข้ามาในเขตไทยได้ง่าย และบริเวณพื้นที่นี้กลายเป็นยุทธบริเวณอันสำคัญระหว่างทหารกับพคท.ชาวม้ง ซึ่งเป็นแนวร่วมสำคัญของพคท. ถูกปราบปรามอย่างหนัก หนีข้ามลำน้ำเหืองเข้าไปในเขตลาวช่วงปี 2525 สถานการณ์ในอินโดจีนเปลี่ยนแปลง ประกอบกับนโยบาย 66/2523 ของรัฐบาลไทยคือใช้ยุทธศาสตร์ “การเมืองนำทหาร” ทำให้ชาวม้งตัดสินใจกลับเข้ามาตามโครงการเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย กองทัพภาคที่ 3 ได้ตัดถนนสายยุทธศาสตร์และแนวชายแดนจากอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ขึ้นไปสิ้นสุดที่บ้านร่มเกล้ากลายเป็นเขตสัมปทานป่าไม้ มีการจัดตั้งชุดทหารพรานคุ้มครองที่ 3405 ขึ้นและนั่นคือจุดเริ่มต้นของปัญหา !วันที่ 31 พฤษภาคม 2530 ทหารลาวยกกำลังเข้ามาในพื้นที่ซึ่งฝ่ายไทยอ้างว่าอยู่ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ทำลายรถแทรกเตอร์ของบริษัทป่าไม้เอกชนเสียหาย 3 คัน มีผู้เสียชีวิต 1 คน หายสาบสูญ 1 คน ทหารพรานชุด 3405 เข้าปะทะกับทหารลาววันที่ 1 มิถุนายน 2530 ทหารลาวเข้าโจมตีม้งที่บ้านร่มเกล้า โดยอ้างว่าเป็นการกวาดล้างม้งที่เคลื่อนไหวต่อต้านทางการลาว และมีทหารลาวอีกชุดหนึ่งยกกำลังข้ามพรมแดนเข้ามาที่เขตบ้านนาผักก้าม และบ้านนากอก อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ยิงราษฎรไทยตาย 1 คน จับกุมตัวไป 6 คน หนีรอดมา 1 คน โดยกล่าวหาว่าราษฎรเหล่านั้นลักลอบเข้าไปตัดไม้ในลาวฯลฯขณะนั้นสหรัฐเผ่นออกไปจากเอเชียแล้ว ทิ้งอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมากไว้ในเวียดนาม ทางอีสานใต้มาถึงตะวันออกกองพลใหญ่ของเวียดนามจ่อคอหอยอยู่ ทางอีสานเหนือภายใต้ชื่อทหารลาว แต่ความจริงน่าจะเป็นกองกำลังผสมของหลายชาติ โดยมีชาติมหาอำนาจยืนทะมึนอยู่ข้างหลัง ทั้งได้ใช้เทคโนโลยีสูงยิ่งในการบัญชาการยามนั้นกองทัพไทยปกป้องเอกราชอธิปไตยจนแม้กระสุนปืนใหญ่ก็ไม่เหลือ ที่ระดมมาจากมิตรประเทศในอาเชียนก็หมดสิ้นพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธสั่งการให้อดีตทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ พ.อ.อมรรัตน์ จินตกานนท์ ร่วมกับ “คณะทำงานลับ” คนหนึ่ง และทีมงานของเขา ติดต่อประสานงานกับกองทัพจีนนำไปสู่กระบวนการ “วิธีการพิเศษ” ลำเลียงทั้งปืนใหญ่และกระสุนจากจีนมาใช้ !ปืนใหญ่และกระสุนปืนใหญ่ชุดนั้นมีความหมาย 2 นัย นัยแรกตรงไปตรงมา คือเป็นยุทโธปกรณ์เสริมและทดแทน นัยที่สองที่อาจจะสำคัญกว่าก็คือเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของ “สาส์น” ที่ต้องการ “สื่อ” ต่อฝ่ายตรงกันข้ามลักษณะกระสุนชนิดใหม่ที่ถูกยิงออกไปทำให้เกิดความเข้าใจว่าศึกครั้งนี้ไทยไม่ได้รบโดยโดดเดี่ยวแล้ว จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้มีการเจรจา และถอนทหารออกจากแนวรบอาจกล่าวได้ว่าเป็นชัยชนะโดยไม่ต้องรบแน่นอนว่าวิถีทางในการรักษาเอกราชอธิปไตยของชาตินับแต่ประวัติศาสตร์มา คือ วิถีทางการทูต และวิถีทางการทหาร ต้องใช้วิธีทั้งสองตามสถานการณ์ และอย่างพลิกแพลง มีแต่คนโง่เท่านั้นที่ใช้แต่ทางใดทางหนึ่ง คำพูดที่ว่า “สู้ตาย” เป็นเรื่องเหลวไหลที่นักการทหารชั้นยอดจะไม่ยอมใช้ เพราะเขาใช้แต่คำว่าสู้เพื่อชนะ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของไทยคือการรักษาเอกราชอธิปไตยของไทยโดยไม่ให้บอบช้ำต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศหลังจากเหตุการณ์ร่มเกล้าแล้ว ความจริงคนไทยควรจะได้รู้ว่าใครคือมิตรแท้ แต่การนำความจริงมาเปิดเผยในบางสถานการณ์ย่อมไม่เป็นผลดี เช่น สมมติว่าในช่วงนั้นประกาศให้รู้ทั่วกันว่าไทยไม่ได้รบกับลาวประเทศเดียว ก็เสมือนเท่ากับประกาศสงครามกับเวียดนามและสหภาพโซเวียตโดยตรง มีหรือที่ศึกจะไม่ใหญ่ขึ้น และถ้าเป็นเช่นนั้นใครจะรับผิดชอบต่อเอกราชอธิปไตยของชาติเมื่อตอบคำถามนี้ก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องกล่าวว่า เป็นโชคดีของประเทศไทยที่พคท.กับเวียดนามและลาวเข้ากันไม่ได้ ขณะเดียวกันจีนก็หันมาสัมพันธ์กับไทยในลักษณะรัฐต่อรัฐ มากกว่าพรรคต่อพรรคนี่เป็นผลส่วนหนึ่งจากที่การที่พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธเดินทางไปเจรจาความเมืองกับเติ้งเสี่ยวผิงในขณะนั้น !1.. มีมหาอำนาจมาช่วยลาวรบจริง2.. ด้วยเทคโนโลยี จาก มหาอำนาจ ทำให้เขาเหนือกว่าเราในช่วงแรกของสงคราม เป็นต้นว่าเขามี เรดาห์ซึ่งสามารถจับ วิธีการยิงปืนใหญ่ของเราได้ ดังนั้นเราจึงต้อง ย้ายที่ตั้งปืนใหญ่ทันทีเมื่อยิงเสร็จ3.. เรื่อง อาวุธจากจีนนั้น ผมว่าคงเป็นแค่ประเด็นเสริม เหมือนกรณี ประเด็นเสริม Dr. เอเดรียน4.. จริง ๆ แล้ว เพราะว่า ทางไทยได้ส่งหน่วย รบพิเศษ ไปปฏิบัติการในแนวหลังของฝ่ายตรงข้าม ในลักษณะสงครามกองโจรทำให้ ฝ่ายตรงข้ามเกิดวิกฤตขึ้น เนื่องจากขาดการส่งกำลังบำรุง5..จากหัวข้อกระทู้ เบื้องหลัง....ไทยไม่ได้แพ้ สรุปได้ว่า จากที่เราได้ส่ง หน่วยรบพิเศษไปปฏิบัติการในแนวหลัง ของฝ่ายตรงข้ามทำให้ ทางลาว ต้องส่งผู้แทนมาเจรจา กับ ไทย เพื่อเจรจา ขอ สงบศึก ซึ่ง ในมุมมองของทางการเมืองและทหารแล้วประเทศคู่สงครามประเทศใด ขอเจรจาก่อน หมายถึง ขอยอมแพ้แล้วนั่นเองจากการปะทะกันระหว่างทหารไทยและลาวนั้น มีรายงานจากบางหน่วยแจ้งว่ามีฝ่ายลาวมีทหารต่างชาติบัญชาการรบอาจเป็นคนรัสเซีย และถูกทหารไทยยิงตายไปหลายคน (กองทัพไทยไม่ได้ให้ข้อมูลกับเรื่องนี้มากนัก) จากการปะทะหลายครั้งบางหน่วยรายงานว่า ทหารที่เข้าใจว่าเป็นทหารลาว บางคนพูดร้องสั่งการเป็นภาษาเวียดนาม คาดว่าเป็นกองกำลังผสมระหว่างเวียดนามและลาวที่รบกับไทย ในการรบที่บ้านร่มเกล้านี้จึงไม่ใช่กรณีพิพาทระหว่างไทยกับลาวธรรมดาระบบอาวุธและการติดต่อสื่อสารในการรบที่ทางฝ่ายลาวใช้นั้น ทันสมัยมาก สามารถรู้พิกัดที่ตั้งปืนใหญ่ของไทยและยิงตอบกลับอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการรบกวนระบบการสื่อสารของทหารไทย ซึ่งกองทัพประชาชนลาวคงไม่มีระบบที่ทันสมัยอย่างนี้ที่ตั้งบนเนิน ๑๔๒๘ มีการดัดแปลงการตั้งรับอย่างดี บังเกอร์เป็นคอนกรีต เสริมเหล็ก ลักษณะเป็นเนินเขาบีบแคบในการเข้าตีต้องเข้าตีจากด้านหน้าอย่างเดียว ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบในการรบ หากจะต้องทำการรบในกรอบปกติ

วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

การสร้างความสามัคคี

ในภาวะเหตุการณ์ที่บ้านเมืองวุ่นวายอย่างทุกวันนี้ ทุกคนต่างมองหาความสงบสุขและไม่อยากรับรู้ข่าวสารที่ไม่ดีระหว่างคนไทยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลือง + เสื้อแดงหรือจะเสื้ออะไรก็ช่าง เราเป็นคนไทยทุกคน และมีความหวังว่าเราจะกลับมารวมกันเป็นหนึ่งอีกครั้ง

1. ให้คิดก่อนว่า เราอาจมีความเห็นแตกต่าง(นานาจิตตัง)ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์โลก แต่เราต้องไม่แตกแยก รับฟังความคิดเห็นของทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นกลางและคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
2. คนไทยใช้สันติวิธี โดยตระหนักว่าความคิดเห็นที่แตกต่างไม่ใช่ศัตรูของเรา มองหาจุดร่วมเป็นความสมัครสมานสามัคคีซึ่งจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
3. คนไทยมีสติและปัญญาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งรุนแรงต่างๆ ด้วยเหตุผล
4. คนไทยยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมที่ดีงาม
5. คนไทยควรทำหน้าที่มากกว่ารักษาสิทธิ เช่น เราเป็นเด็กมีหน้าที่เรียนหนังสือ ก็ควรตั้งใจเรียนหนังสือให้ดีที่สุด เป็นต้น
6. คนไทยพูดจานุ่มนวลด้วยความสมานสามัคคี เป็นไมตรีอันดียิ่ง
7. คนไทยมาร่วมระดมความคิด หันมาผูกมิตรกันด้วยคุณธรรม
8. อย่าให้ความโกรธ ความริษยามาทำลายคนไทยด้วยกันเอง
9. ลด ละ เลิก อคติหรือความลำเอียงทางความคิด ไม่ต้องเลือกอยู่ฝ่ายไหน เพราะทำให้เราสูญเสียศักยภาพในการที่จะใช้ปัญญาอย่างเป็นกลาง

พอเสียทีได้ไหม ?เลิก "จับผิด ริษยา แตกสามัคคี"หันมา "จับตาดู (อย่างไม่มีอคติ)มุทิตา (เมตตา) สามัคคี" กันดีไหม ?